
Digital Token
โทเคน ดิจิทัล (Digital Token) คือ หน่วยข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้น เพื่อกำหนด สิทธิของบุคคล ในการร่วมลงทุน (investment token) หรือ สิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า และ บริการ หรือ สิทธิอื่น ๆ (utility token) ตามที่ได้ตกลงกับ ผู้ออกโทเคน ซึ่งอาจเสนอขายโทเคน ผ่านกระบวนการ Initial Coin Offering (ICO) ซึ่ง เป็นการระดมทุน รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เข้ามาช่วย โดย บริษัทจะเสนอ และ กำหนด ขายโทเคนที่ กำหนดสิทธิ หรือ ผลประโยชน์ต่างๆ ของผู้ลงทุน เช่น ส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ หรือ สิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า หรือ บริการที่เฉพาะเจาะจง และ กำหนดให้ผู้ลงทุน ที่ต้องการ จะร่วมลงทุนสามารถเข้าร่วมได้ โดยการนำคริปโท ฯ หรือ เงิน มาแลกโทเคนที่บริษัทออก โดยมีการกำหนด และ บังคับสิทธิที่จะได้รับด้วย smart contract บนเทคโนโลยีบล็อกเชน
Utility Token คืออะไร ?
ถ้าเอาตามนิยามนะครับ Utility Token คือ เหรียญ ที่เอาไว้ใช้เพื่อแลกกับบริการ หรือ การใช้งานระบบนั้น ๆ
หลายคนอาจคุ้นเคยกับโมเดลของ ยูทิลิตี้ โทเคน กันแล้ว หรือ ถ้าให้เปรียบเทียบง่าย ๆ มันก็คือ “น้ำมันดิจิตอล” นั้นเอง
ตัวอย่างนะครับ ถ้าเราลองย้อนกลับไป ในสมัยที่เรายังไม่มีเครื่องยนต์ แล้ว ผมบอกว่าผมจะสร้างเครื่องยนต์แรกบนโลก ผมก็สามารถโม้ไปได้ว่า เครื่องยนต์นี้จะเอาไปสร้างสิ่งของที่มีประโยชน์ได้สารพัด เช่น รถยนต์ เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ

ทีนี้ผมก็ต้องการเงินทุนใช่ไหมครับ ผมก็เลยคิดโมเดล ICO ที่ว่า
ผมจะขายน้ำมันของเครื่องยนต์นี้ ให้ก่อน ในราคาถูกมาก ๆ แลกกับเงินทุนที่จะเอามาสร้างเครื่องยนต์นี้
ข้อแม้ ก็คือ เครื่องยนต์ผมต้องใช้น้ำมันชนิดนี้ เท่านั้น หมายความว่า ถ้ามีคนเอาเครื่องยนต์ไปใช้ สร้างสิ่งต่าง ๆ แล้วคนใช้จริง น้ำมันก็จะมีความต้องการสูงขึ้น มูลค่าสูงขึ้นตาม
ฟังดูแล้วคุ้น ๆ ไหมครับ จริง ๆแล้วตัวอย่างนี้ก็ คล้ายกับ Ethereum นี่เอง ที่ตัว เหรียญเป็นเสมือน น้ำมันดิจิตอล ที่ไว้ใช้กับเครื่องยนต์ดิจิตอล ซึ่งเครื่องยนต์นี้ก็เอาไปสร้าง App ต่างๆได้
มูลค่ามากจากไหน?
น้ำมันดิจิตอลนี้ ควรจะมีมูลค่าก็ต่อเมื่อมีคนเอาเครื่องยนต์ไปสร้าง App แล้วมีคนใช้กันจริง ๆ
แต่!! ในความเป็นจริงแล้ว มันยังไม่มีคนเอาไปสร้างอะไรเท่าไหร่เลย มีแต่คน Speculate หรือ คาดการณ์ว่าเครื่องยนต์นี้ จะฮิตใช้กันทั่วโลก เข้ามาเทรดเก็งกำไรกัน หรือ นักลงทุนที่เชื่อมั่นว่าเครื่องยนต์ดิจิตอลนี้จะไปไกลจริง ๆ ในอนาคตเข้ามาซื้อเก็บไว้มากกว่า
สิ่งนี้แหละ คือ ตัวทำให้เหรียญ ยูทิลิตี้ โทเคน อย่าง Ethereum และอื่น ๆ มีมูลค่าขึ้นมา
Use case ที่ไม่เหมาะ
เราลองมาเปลี่ยนตัวอย่างกันบ้าง
ถ้าคอยน์แมน เปลี่ยนจากการสร้างเครื่องยนต์ มาเป็นสร้างห้างสรรพสินค้า มันจะเป็นอย่างไร

ไม่ต่างจากเดิมครับ ผมก็ยังสามารถทำการ ระดมทุน ICO เพื่อให้เหรียญ Utility Token นี้ได้ โดยบอกว่า
ห้างผมจะยิ่งใหญ่มาก (ก็ต้องพูดให้ดูดีไว้ก่อน ใช่ไหมละครับ)
คนจะมาเช่าเปิดร้านเสื้อผ้า ทำโซนอาหาร จัดกิจกรรม
มีข้อแม้ อย่างเดียว พอห้างผมสร้างเสร็จ ทุกคนจะต้องใช้เหรียญผมในการซื้อทุกอย่างในห้างนี้
พอเจอข้อสุดท้ายนี้ ก็งง ๆ ใช่ไหมครับ จริงอยู่ว่ามันเป็นไปได้ที่ผมจะขายเหรียญให้นักลงทุนถูก ๆ พอห้างเปิดคนมาใช้จริง เหรียญก็อาจมีมูลค่าสูงขึ้น แต่มันก็มีปัญหาตามมาว่า
ข้าวหนึ่งจานในห้างจะราคาขึ้นตามรึเปล่า
เราจะควบคุม หรือ ยึดมูลค่ายังไงให้ราคาไม่เหวี่ยง (พ่อค้า แม่ค้า ไม่ต้องการมูลค่าเหวี่ยง เพราะต้นทุนเค้าเป็นเงินบาทที่มูลค่าคงที่)
ไม่มีความสะดวกสบายในการจ่ายเงิน เพราะต้องมานั่งแลกเหรียญนี้ทุกครั้ง
เราจะเห็นได้ว่า โมเดลของ ยูทิลิตี้ โทเคน นี้ ดูไม่ค่อยเหมาะกับรูปแบบโปรเจคประเภทนี้ แต่ไม่ต้องเป็นห่วงไป เราไม่จำเป็นต้องฝืนใช้โมเดลนี้ เพราะเรายังมีสิ่งที่เรียกว่า Security Token
